“หลัวพลาสติก” หากพูดถึงคำนี้ บางคนหรือคนบางกลุ่มอาจจะสงสัย หรือไม่รู้จักเลย เพราะเป็นศัพท์ที่ค่อนข้างใช้ในกลุ่มเฉพาะเจาะจง เช่น กลุ่มแพปลา, กลุ่มลากกุ้ง, กลุ่มชาวสวนชาวไร่ แต่ถ้าได้เห็นรูปร่างลักษณะของสิ่งของชนิดนี้ ทุกคนจะรู้จักในนามว่า ตะกร้าพลาสติก ซึ่ง “หลัว” หรือ ตะกร้าพลาสติก มีรูปทรงลักษณะเป็นทรงกระบอกสั้น ปากกว้าง ก้นเล็ก เล็กน้อย มีหูที่ขอบปาก แล้วโดยรอบไปจนถึงก้นตะกร้าจะมีรู  และประโยชน์ของตะกร้าพลาสติก ก็มีหลายอย่าง เช่น ใส่ผลไม้ ใส่ปลา ใส่กุ้ง ตอนจำแนกแบ่งขาย หรือจะใช่เป็นตะกร้าผ้า รวมไปถึงใส่อุปกรณ์เครื่องมือช่างซ่อมแขนงต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน



          และในส่วนนี้จะพูดถึง การประยุกต์ใช้ตะกร้าพลาสติกมาเป็นภาชนะในการเพาะเห็ดฟาง วัสดุหลักๆเลยทีต้องมีก็คือ หลัวพลาสติก หรือตะกร้าพลาสติก, หัวเชื้อเห็ดฟาง, ฟาง, ผักตบชวา, แกลบ, เศษหญ้าแห้ง และขี้เลื่อยทั่วไป การทำให้เห็ดฟางเจริญงอกงามนั้น ให้นำฟางไปแช่น้ำ 1 วัน หลังจากที่แช่ฟางครบ 1 วัน แล้วนำฟางที่ชุ่มน้ำไปใส่ในตะกร้าประมาณ 3 นิ้ว โรยเศษผักตบชวา ชิ้นเล็ก ๆ และเกลี่ยนให้เสมอกัน หนาประมาณ 1 นิ้ว โรยขี้เลื่อยไว้ตรงกลาง เว้นพื้นที่ขอบเล็กน้อย บริเวณขอบๆ ให้โรยหัวเชื้อเห็ดให้เต็มเป็นวงกลม แล้วปิดทับทั้งหมดด้วยฟางบาง ๆ ทำแบบนี้ไปจนกว่าจะเต็มตะกร้า หากวัสดุภายในตะกร้าเปียกเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องรดน้ำเพิ่ม แต่หากรู้สึกว่าแห้งไป ให้รดน้ำซ้ำ เมื่อทำตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วนำตะกร้าเพาะเห็ดฟางไปไว้ในที่ร่ม ใช้สุ่มครอบตะกร้า และนำวัสดุทึบแสงมาปิดคลุม เพื่อควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 30 – 40 องศา สามารถให้เชื้อเห็ดฟางรับอากาศได้ 1 – 2 ชั่วโมง หลังจากทิ้งไว้ 4 – 5 วัน แล้วหลังจากนั้น 4 – 5 วัน ห้ามโดนแดด เห็ดจะออกผลผลิต และพร้อมเก็บ โดยประมาณใช้เวลาเพาะ 7-12 วัน 1 ตะกร้าเพาะเห็ดจะได้ผลผลิตประมาณ 1 – 2 กิโลกรัม ต่อตะกร้า


          ทางบริษัท วิริยะกิจอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเสนอหลัวพลาสติกหรือตะกร้าพลาสติก ให้เป็นทางเลือกในการเพาะเห็ดฟางต่อไป หากสนใจตะกร้าพลาสติก สามารถติดต่อสอบถามผ่านช่องทาง Line ID : @viriyakit หรือ โทร.098-453-0333

รายละเอียกสินค้าตะกร้าพลาสติก